ภาวะซึมเศร้าของคนวัยเก๋าคนในครอบครัวควรเข้าใจ
By Birth Intern 22 ม.ค. 2568
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ลูกหลานหรือผู้ดูแล ควรให้ความสนใจ การใส่ใจ และสังเกต เพราะเมื่อสูงวัยขึ้น สุขภาพร่างกายเสื่อมถอยลง ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น อาจส่งผลต่อสภาพอารมณ์และสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ควรระวัง
1. รับประทานอาหารน้อยลง - ผู้สูงอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการกิน เช่น กินมากเกินไปหรือเบื่ออาหาร ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
2. นอนไม่หลับ- อาจมีอาการนอนมากเกินไปหรือไม่สามารถนอนหลับได้ รวมถึงการตื่นขึ้นกลางดึกหรือฝันร้าย
3. เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร - ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายหรือไม่อยากทำสิ่งใดเลย
4. นิ่งและพูดคุยน้อย- พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น การไม่ตอบสนองหรือไม่สนใจในการพูดคุยกับคนอื่น
5. อารมณ์แปรปรวน - มีอารมณ์ที่ไม่ปกติ เช่น หงุดหงิดบ่อยขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกภาพเดิม
6. รู้สึกตัวเองไร้ค่า - มีความคิดด้านลบเกี่ยวกับตัวเอง หรือแสดงความรู้สึกว่าตนเป็นภาระของผู้อื่น
วิธีปฏิบัติต่อผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้าคือ
1. การเอาใจใส่ดูแลและเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ
2. เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารพิษให้ไกลมือผู้สูงอายุ
3. ไม่ทิ้งผู้สูงอายุไว้เพียงลำพัง ควรมีคนดูแลอยู่เสมอ
4. ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง
5. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
หากพบว่าอาการเหล่านี้มีอยู่ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจจะเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าและควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการดูแลรักษาที่เหมาะสม การรับรู้และการเข้าใจในอาการของภาวะซึมเศร้าจะช่วยให้คุณสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2780238
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีอาการทางกายอะไรที่สังเกตุได้บ้าง? – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (chula.ac.th)